Banner

-----[FreeSplanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งานสถาปนิก 55

Theme งาน    “Water brick; ก้อนน้ำ”
เราคง คุ้นเคยกับคำพูดที่ว่า“ชาวไทยใช้ชีวิตอยู่กับกับน้ำมาตั้งแต่ในอดีต” แต่ถ้าถามคนไทยที่เดินตามถนนทั่วไปว่าเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำขนาด
ไหน คำตอบเศร้าๆก็คือ“ผิวเผิน” เราบริโภคข่าวน้ำแล้งสลับกับน้ำท่วมรายเดือนจากรายการเล่าข่าวยามเช้าจนชา ชินเกินไปรึเปล่า จนลืมตั้งคำถามว่าอะไรคือต้นเหตุ
ของปัญหาเหล่านั้นแล้วโยนความผิดให้กับ“(ภัย)ธรรมชาติ”
กับวิถี ชีวิตของเราที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมากประกอบกับอิทธิพลจากการเปลี่ยน แปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราที่ส่งผลกระทบกับเรามากขึ้น
ทุกวัน น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันพยายามทำความเข้าใจให้ถึงแก่นของ“น้ำ”ที่ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิติของเรามากขึ้น ให้เข้าใจว่าทำไมภัยแล้งสุดขีดขนาดที่ชาว
บ้านต้องเอาปี๊ปมาขอรับน้ำจากส่วน กลางจึงเกิดขึ้นหลังจากอุทกภัยที่เพิ่งผ่านไปแค่2เดือน ให้เข้าใจว่าก้อนน้ำที่ทยอยไหลท่วมจังหวัดต่างๆของเรานั้นมันก้อนใหญ่
ขนาดไหนและเราะช่วยกันหาอะไรมาใส่มัน และอีกมาก
สถาปนิก... ตื่นได้แล้ว
สถาปนิก...ใน ฐานะผู้สร้างและวางแผนสิ่งต่างๆที่อยู่แวดล้อมตัวเราจึงควรเป็นกลุ่มคนกลุ่ม แรกๆในสังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจ“น้ำ” เรามีภาระที่หนักอึ้งและเร่งด่วนในการหาสาเหตุของปัญหาของน้ำที่ส่งผลกระทบ กับสังคมของเราในวงกว้าง และวาดภาพของวิถีการอยู่ร่วมกับน้ำของปัจจุบันและในอนาคตให้สังคมได้รู้ หยุดการช่วยเหลือผู้คนที่ปลายเหตุด้วยการแจกถุงยังชีพ แต่มาช่วยกันแก้ปัญหานี้ที่ต้นเหตุกันเถอะ
นิทรรศการ “Water Brick; ก้อนน้ำ” นำเสนอข้อมูลเชิงลึกทางด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและผังเมืองเพื่อพยายามทำความเข้าใจแต่ละมิติของ“ปริมาตรน้ำ”อย่าง จริงจังและหนักแน่นผ่านเนื้อหาททั้ง 7บท
1) เรียนรู้จากเมื่อวาน; Learning from YESTERDAYS
2) น้ำกับเมือง; Architecture and Cities
3) อย่างนี้พี่เค้าก็อยู่กันได้; Thailand’s settlement with water
4) ในหลวงกับ“น้ำ”; Our King and water
5) ที่อื่นเค้าทำกันยังไง; Global case studies on Architecture with water
6) อยู่อย่างนี้ก็ได้; 6 Water cities
7) น้ำกับวันพรุ่งนี้; Visionary water architecture
1) เรียนรู้จากเมื่อวาน; Learning from YESTERDAYS
แสดงประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของคนไทยกับแหล่งน้ำธรรมชาติในอดีตตั้งแต่
สุโขทัย อยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ถึงโมเดลต่างๆของชุมชนที่ใช้ชีวิติอยู่กับน้ำในอดีตเช่น เรือนแพ อย่างเป็นระบบ เพื่อแสดงความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับสถาปัตยกรรม ผังเมือง และ น้ำ อย่างเฉพาะเจาะจง
2) น้ำกับเมือง; Architecture and Cities
แสดงแนวคิดที่แตกต่างในการจัดการกับน้ำของประเทศไทยทั้งที่เคยเปิดเผยต่าง
สาธารณะและไม่เคย ตั้งแต่การออกแบบเมือง ระบบถนน ระบบระบายน้ำ และระบบน้ำเพื่อการเกษตร ครอบคลุมแนวคิดทั้งจากนักวิชาการ หน่วยงานราชการ นักออกแบบ หรือ นักการเมือง เช่น โครงการอุโมงค์ยักษ์ของกทม. โครงการ Water grid โครงการถมทะเลบริเวณอ่าวไทยเป็นต้น
3) อย่างนี้พี่เค้าก็อยู่กันได้; Thailand’s settlement with water
แสดงรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตั้งถิ่นฐานแบบท้องถิ่นในประเทศไทยที่ต้อง
พึ่งพาน้ำอย่างมีสาระสำคัญ และเป็นรูปแบบที่สถาปัตยกรรมในปัจจุบันและในอนาคตสามารถใช้เรียนรู้เป็นแบบ อย่างได้ เช่น ชุมชนเกาะปันหยี ตลาดสองฤดูที่ตำบลบางลี่ ชุมชนคลองดำเนินสะดวก
4) ในหลวงกับ“น้ำ”; Our King and water
รวมรวมโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับการ
จัดการน้ำทั้งขนาดเล็กและใหญ่เพื่อ จัดแสดงเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบและเข้าใจง่าย เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจทั้งในภาพรวมและเชิงลึกเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ใน เรื่องน้ำที่สร้างประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์อย่างเป็นที่สุด
5) ที่อื่นเค้าทำกันยังไง; Global case studies on Architecture with water
แสดงตัวอย่างโครงการด้านสถาปัตยกรรม ชลประทาน และการออกแบบผังเมือง
ต่างๆในโลกที่ให้ความสำคัญกับ สถานการณ์ของน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกปัจจุบัน เช่น เมืองIjburgในเนเธอร์แลนด์ เมืองVeniceในอิตาลี เมืองLondonในอังกฤษ
6) อยู่อย่างนี้ก็ได้; 6 Water cities
แสดงให้สังคมตระหนักว่าสถาปัตยกรรมมีศักยภาพในการสร้างสรรค์การเป็นอยู่
ด้วยวิถีใหม่ที่สร้างที่แตกต่างจาก ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยด้วยความร่วมมือของสถานิกไทยรุ่นใหม่6กลุ่มเสนอแนวคิดของการตั้งถิ่นฐาน แบบใหม่บนเมืองที่น้ำท่วม/แล้งซ้ำซาก ได้แก่ น่าน นครสวรรค์ อยุธยา กรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ นครราชสีมา
7) น้ำกับวันพรุ่งนี้; Visionary water architecture
สร้างจินตนาการและส่งเสริมการหาทางออกสำหรับการอยู่อาศัยกับสถานการณ์น้ำ
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วใน ปัจจุบัน โดยการจัดประกวดแนวคิดทางด้านสถาปัตยกรรมในอนาคตที่มีการคำนึงถึงเรื่องน้ำ เป็นเรื่องสำคัญ “Water brick; ก้อนน้ำ”





ดาวน์โหลด : เอกสารประชาสัมพันธ์ / Press Conference of Architect’12

ผู้แสดงสินค้าสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ :
บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด
เลขที่ 60 ถ.รัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวง/เขต คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ : 0-2203-4200 โทรสาร : 0-2203-4250-1
Web-site : www.architectexpo.net
E-mail : architectexpo@qsncc.com


สมาคมสถาปนิกสยาม จับมือนีโอ
เตรียมจัดงานสถาปนิก'55 ครั้งยิ่งใหญ่
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวความร่วมมือในการจัดงานสถาปนิก’55 ร่วมกับ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ โดยจัดงานแถลงข่าวขึ้น ณ อาษาเซ็นเตอร์ (ASA Center) ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ เมื่อเร็วๆ นี้
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์กำหนดจัดงาน สถาปนิก’55 อย่างยิ่งใหญ่ขึ้น ระหว่างวันที่ 24 – 29 เมษายน 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้การผนึกกำลังความร่วมมือระหว่างสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด ซึ่งถือเป็นเป็นสัญญาณที่ดีในการยกระดับการจัดงานสถาปนิกให้มีความยิ่งใหญ่ มากยิ่งขึ้น โดยงานสถาปนิกถือเป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสะท้อนภาพรวมของวงการสถาปนิก รวมถึงจุดยืนของวงการวิชาชีพการออกแบบสถาปัตยกรรมในแต่ละก้าว แสดงให้เห็นว่าสถาปนิกทั้งหลายได้ตระหนักถึงคุณค่าของสังคม ผ่านแนวคิดของการจัดงาน สำหรับการจัดงานสถาปนิก’55 จะใช้พื้นที่ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 ครอบคลุมพื้นที่การจัดงานกว่า 60,000 ตารางเมตร โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 ส่วนจัดแสดงสินค้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 โซน ได้แก่ 1. โซนสินค้าด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่าง 2. โซนสินค้าด้านสุขภัณฑ์และเครื่องครัว 3.โซนสินค้ากระเบื้อง หินอ่อน หินแกรนิต อุปกรณ์ติดตั้งกระเบื้อง 4.โซนสินค้าสี วัสดุตกแต่ง เครื่องเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้า 5. โซนสินค้าด้านประตู หน้าต่าง รั้ว 6. โซนสินค้าเกี่ยวกับหลังคาฉนวนวัสดุกันรั่วซึม 7.โซนสินค้าบริการด้านพลังงานทดแทนและบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนที่ 2 เป็นการแสดงผลงานทางด้านนวัตกรรมของสถาปนิกและผลงานของสมาคมฯ ส่วนที่ 3 เป็นกิจกรรมเวิร์คช้อปและกิจกรรมของนักศึกษา และส่วนที่ 4 คือ ส่วนบริการประชาชน ซึ่งคณะผู้จัดงานตั้งเป้ายอดผู้เข้าชมงาน ทั้งสถาปนิกและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปไว้ที่จำนวน 250,000 คน ผู้จัดแสดงสินค้ามากกว่า 1,000 ราย โดยคาดว่าจะมียอดเงินสะพัดภายในงานไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท
ทวีจิตร จันทรสาขา นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “ธุรกิจการออกแบบในตอนนี้ถือว่าดีกว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ถ้าตลาดมีเสถียรภาพมากขึ้นก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดของธุรกิจออกแบบ ในไทย โดยงานนี้เราเตรียมนำเสนอในเรื่องของ ”น้ำ” เป็นแนวคิดหลักในการนำเสนอทางออกให้สังคม เราจะเน้นเรื่องของความร่วมมือกับผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ รวมทั้งองค์กร และสมาคมที่เกี่ยวข้อง โดยดึงตลาดต่างประเทศเข้ามาร่วมแสดงงาน ผลักดันให้เป็นงานใหญ่ในระดับภูมิภาคต่อไป เพื่อเพิ่มเสน่ห์ของงานสถาปนิกให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น “
ลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด กล่าวเสริมว่า “ทางบริษัทฯ มีประสบการณ์อย่างยาวนานในการบริหารจัดการงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนต่างๆ มากมาย ประกอบกับประสบการณ์ในการจัดงานสถาปนิกในปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าจะสามารถยกระดับภาพลักษณ์การจัดงานสถาปนิก’55 ในครั้งนี้ขึ้นไปสู่ระดับสากลได้ไม่ยาก สำหรับงานนี้จากการที่บริษัทฯ ได้เปิดให้มีการจองพื้นที่แสดงงาน ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าในขณะนี้ มีผู้ประกอบการที่มีความเชื่อมั่นในการจัดงาน ให้ความสนใจตอบรับเข้าร่วมแสดงงานเข้ามาแล้วกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งผู้แสดงงานที่เคยเข้าร่วมแสดงงานในปี’54 และผู้ประกอบการรายใหม่ๆค่ะ”
นอกจากนี้ในงานแถลงข่าวยังได้รับความสนใจมากมายจากบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้า ร่วมงาน อาทิ อธิชัย โปษยานนท์ ซึ่งกล่าวแสดงความเห็นว่า “ปัจจุบันผมเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อปริญญาโทด้านการดีไซน์ และการออกแบบ ที่สถาบัน Domus Academy แห่งอิตาลี ผมมองว่าวงการด้านงานสถาปนิกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการศึกษาต่อ มีความสำคัญไม่ต่างกันกับสายอาชีพอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความชอบความสนใจของแต่ละบุคคล บางคนอาจชอบในด้านการออกแบบหรือดีไซน์สิ่งปลูกสร้าง หรือเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง ซึ่งมีความถนัดแตกต่างกันไป นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปัจจุบันคนไทยได้ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นครับ”
ม.ร.ว. จันทรลัดดา ยุคล กล่าวทิ้งท้ายว่า “โดยปกติหญิงดูแลเรื่องการดีไซน์และการผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ของตัวเองอยู่แล้ว หญิงจึงมองว่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรืองานที่ต้องอาศัยไอเดียอย่างงานสถาปนิกนั้น แรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกความเป็นตัวเองผ่านออกมาในรูปแบบของสไตล์ การแต่งตัว หรือเฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนอาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสีสันและรูปทรงล้วนออกมาจากจินตนาการของแต่ละบุคคล สำหรับตัวหญิงเองสามารถออกแบบและผลิตเสื้อผ้าได้ตามความชอบ แต่ในด้านการตกแต่งบ้านอาจจะต้องใช้เวลานานในการหาเฟอร์นิเจอร์ที่บ่งบอก ความเป็นตัวเอง ซึ่งถือว่างานนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภคที่ต้องการความรู้ด้าน นี้ด้วยค่ะ”
นอกจากนี้ยังมีเหล่าเซเลบริตี้ที่สนใจการจัดงาน อาทิ วรรณพร โปษยานนท์, จรสพรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา, หมวย อริศรา กําธรเจริญ และกันต์ รัตนาภรณ์ มาร่วมอัพเดทความรู้ในการแถลงข่าวในครั้งนี้อีกด้วย
แล้วเตรียมพบกันที่งานสถาปนิก’55 ระหว่างวันที่ 24 – 29 เมษายน 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-203-4200 หรือดูรายละเอียดที่ www.architectexpo.net


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...