Banner

-----[FreeSplanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบห้องครัว

จัดได้ว่าเป็นห้องที่ถูกใช้ประโยชน์ มากมาย การดูแลรักษาเอาใจใส่จึงตามมา เป็นเงา ตามตัว เพื่อให้ห้องครัวอยู่ในสภาพ ที่น่าดู และน่าใช้อยู่เสมอ หลังจากการ ปรุงอ4หารเสร็จสิ้นแล้ว เราก็จะต้องเช็ดถู ทำความสะอาด บริเวณเตาแก๊ส และ ชั้นวางของ ให้สะอาด แต่เท่านี้ยังไม่พอ เพราะอย่างน้อย อาทิตย์หนึ่ง เราควร จะทำความสะอาด ในครัวให้หมดทุกซอกทุกมุม โดยเริ่มจาก การทำความสะอาด ฝาผนัง เพื่อล้างคราบน้ำมัน หรือเศษอาหาร ที่ติดอยู่ออก ให้หมด เตา ตู้เก็บของ ตู้เย็น ชั้นวางของ ซอกมุมต่างๆ ควรเช็ดฝุ่นละอองออก สำหรับพื้น จะต้องขัดล้าง ทำความสะอาด ไม่ให้คราบ สกปรก หลงเหลืออยู่ เมื่อทำความสะอาด ไปแล้ว ควรใช้ ผ้าแห้ง เช็ดอีกครั้ง นอกจากนี้เมื่อมีเวลาว่าง ก็ควรจะให้เวลากับห้องครัวบ้าง เพื่อดูแล ข้าวของ ให้เข้าที่ หรือปรับปรุง บางส่วน ให้ดูดีขึ้น หรือใช้ประโยชน์ ได้ดี กว่าเดิม ข้าวของที่จัด อย่างเป็น ระเบียบ การทำงานในห้องครัว ด้วยความสะดวก ราบรื่น ไม่มีสิ่งของกีดขวาง ทุกอย่างหยิบใช้ได้ง่าย ย่อมเป็นที่พึงพอใจ และชื่นใจให้ กับผู้ใช้อย่างมาก ซ้ำยังเป็นการเพิ่มความมีชีวิตชีวา ให้กับห้องครัวอีกด้วย ครัว เป็นสิ่งหนึ่ง ที่ทุกบ้าน ปฏิเสธไม่ได้ และยังคงให้ความสำคัญ กับครัว อย่างไม่หยุด หย่อน ครัวจัดได้ว่า เป็นบริเวณที่มีการใช้สอย ประโยชน์ไม่น้อยกว่า ส่วนอื่นๆ ของบ้านเลย ดังนั้น การออกแบบครัว ให้เข้ากับยุคสมัยใหม่นี้ มักจะเต็ม ไปด้วย อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ชนิดต่างๆมากมาย เพื่ออำนวย ความสะดวกสบาย แก่ผู้ใช้ หรือผู้ที่ต้องคลุกคลีอยู่กับครัว ห้องครัว
ห้องครัว เป็นอีกห้องหนึ่งที่มีการกำหนด ลักษณะการใช้งาน ที่แตกต่างไป จากห้องอื่นๆ โดยเป็นส่วนใช้งาน ที่สำคัญภายในบ้าน ซึ่งใช้เป็นที่ ประกอบอาหาร เพื่อการยังชีพ นอกจากนั้น ครัวยังมีความสัมพันธ์ ในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง กับส่วนรับประทานอาหารและส่วนอื่นๆ ในตัวบ้าน
ในบรรดาห้องทั้งหลาย ห้องครัวได้กลายเป็นห้องที่เราให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นห้อง ที่เราให้เวลา ในวันหนึ่งๆ กับห้องนี้ มากพอสมควร อีกทั้งยังต้องทุ่มเทค่าใช้จ่ายสำหรับการที่จะได้ “ห้องครัว” ที่ถูกอกถูกใจอีกด้วย ก่อนการตัดสินใจ ที่จะลงมือสร้างครัว หรือจัดตกแต่งครัว เพื่อให้เกิดความสวยงามนั้น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงเป็นลำดับแรกคือ การออกแบบห้องครัว เป็นการผสมผสาน ทั้งศาสตร์และศิลป์ไว้ในห้อง ๆ เดียวอย่างกลมกลืนที่สุด ศิลป์คือความสวยงาม แม้ห้องนี้จะไม่ได้มีไว้โชว์แขกโดยตรงก็ตาม ส่วนศาสตร์ก็คือ การคำนึงถึงสุขอนามัยต่าง ๆ ผลพวงที่จะเกิดกับการประกอบอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย อย่างที่รู้ ๆ กันว่า อาหารไทยนั้น นอกจากจะรสจัด รสแซ่บแล้ว กลิ่นก็ยังรุนแรงอีกด้วย ตอนที่คุณปรุงก็ก่อให้เกิดความร้อนตลบอบอวลด้วย คงไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ที่พอคุณทำอาหารเสร็จจะมีกลิ่นติดตามเนื้อตัว ผมเผ้า เสื้อผ้า จนคนใกล้ชิดของคุณแซวว่า “เปลี่ยนน้ำหอมใหม่แล้วหรือ?” มีปัจจัยอะไรต้องคิดถึงบ้างลองไปดูกัน
ทิศทางของห้องไม่ควรอยู่ในทิศที่อับหรือทึบหรือพูดง่าย ๆ ก็คือห้องนี้ควรมีแสงสว่างเพียงพอนั่นแหละ มีแสงแดดส่องถึง เพื่อไล่ความชื้นออกไป ที่สำคัญต้องระบายอากาศดีด้วย ส่วนของคนจีน การวางฮวงจุ้ยสำหรับห้องครัวนั้น ก็กำหนดไว้ที่ทิศตะวันออก หรือทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น จะได้ช่วยไล่ความชื้น ฆ่าเชื้อโรคจากเช้าถึงเที่ยงและเย็นสบายช่วงบ่ายถึงเย็นซึ่งเป็นเวลาทำครัว อีกทิศหนึ่งที่น่าสนใจคือทิศใต้ซึ่งเป็นทางลมพอดี
เมื่อหาทิศทางให้ห้องครัวได้แล้ว สิ่งที่คุณต้องพิจารณาต่อก็คือตำแหน่งที่สะดวกสบายในการเข้าถึงซึ่งโดยทั่ว ไปแล้วจะมี 2 ลักษณะคือ ครัวในบ้านและ ครัวนอกบ้าน โดยครัวในบ้านนั้นมักจะอยู่ชั้นล่างอาจจะติดโรงรถเพื่อความสะดวกสบายในการขน ของ มักจะเป็นครัวเบาใช้เตรียมอาหาร ส่วนครัวนอกบ้านนั้นโดยทั่วไปถ้าบ้านของคุณมีเรือนคนใช้อยู่ก็มักจะสร้าง ครัวที่เรือนนี้ไปด้วยเลย
แปลน ห้องครัว Kitchen Room ทำนอง เดียวกันคุณอาจจะทำบริเวณจอดรถไว้ที่เรือนนี้ด้วยก็ได้ เพื่อความสะดวก ในการขนของเข้าครัว แต่ถ้าบ้านของคุณเป็นบ้านขนาดเล็ก อาจจะต่อเติมหลังคา ด้านหลังบ้านใช้เป็นครัวประกอบอาหารหนักกลิ่นแรง ๆ ก็ได้ จะเลือกครัวใน หรือนอกบ้าน นั้น ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาคงหนีไม่พ้น ความต้องการของครอบครัว ขนาด ของบ้าน ขนาดของที่ดิน แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกแบบใด คุณจะยังต้องคำนึงถึง ตำแหน่งของ ห้องนอนด้วย เพราะครัวไม่ควรอยู่ตรงกับห้องนอนชั้นบน นั่นจะทำให้ กลิ่นอาหาร ขึ้นไปรบกวน ตำแหน่งของท่อน้ำทิ้งก็ไม่ควรให้อยู่ใกล้ กับแหล่งน้ำ ใช้ เพราะน้ำ ที่เกิดจากการล้าง รวมไปถึงเศษอาหาร อาจจะไหลซึม และแปดเปื้อนกับแหล่งน้ำได้ ถ้าจะให้ดี คุณน่าจะจัดครัวให้ใกล้กับส่วนรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ห้องรับประทาน หรือระเบียง (ในกรณีที่คุณจัดเลี้ยง) เพื่อความสะดวก ในการลำเลียง อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ สำหรับห้องครัวคือเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในครัว ซึ่งคุณควรจะพิจารณา ให้เหมาะสม กับครัวของคุณด้วย เพื่อที่ว่านอกจากจะใช้งานได้เหมาะสม มีประสิทธิภาพแล้ว จะทำให้ครัวของคุณสวยงามไปด้วย
การวางแปลนครัว ที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้เหมาะสมกับการใช้งาน และได้รับประโยชน์ ในการใช้สอยได้อย่างเต็มที่ การวางแปลนครัว นั้นไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และประโยชน์ใช้สอย การวางแปลนครัวจึงแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ตามขนาดและรูปร่างห้อง คือ
แบบห้องครัว U1. การจัดแบบตัวยู (U-Shaped Kitchen) เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่เหลือเฟือ ทั้งบ้านและครัวนี้ จึงมีความยืดหยุ่นมากที่สุด เพราะยังสามารถขยายพื้นที่ ของเคาน์เตอร์และชั้นเก็บของต่างๆได้
2. การจัดแบบตัวแอล (L-Shaped Kitchen) เป็นครัว ที่ใช้การได้ดีเช่นกัน สำหรับการทำงาน ในจุดทั้งสาม (เตา,อ่าง,ตู้เย็น) เหมาะกับห้อง ที่มีเนื้อที่ปานกลาง และเป็นบ้านโล่งๆ ที่ไม่มีการ กั้นแบ่งห้องทุกห้อง (Open Plan)
3. การจัดแบบแถวยาวตามทางเดิน (Corridor Kitchen) เป็นครัวที่อยู่ในบริเวณ ที่ขนาบทางเดิน แคบๆ โดยมีทางเดินอยู่แนวกลาง ทุกๆอย่างในครัวนี้ จะอยู่ใกล้มือมาก จึงอำนวย ความสะดวกได้มากที่สุด
4. การจัดแบบแถวยาวตลอด (One Wall Kitchen) เป็นครัวที่มีการจัดวางเป็นแบบแถวเดียวชิดผนังหมด
การจัดครัวนั้นจำเป็นจะต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย เพราะจะช่วยให้รู้เรื่อง ถึงลักษณะการใช้ของครัว แต่ละแบบ และเพิ่มความมั่นใจ ในการเลือกแบบ แต่ละแบบ ให้เข้าได้กับสภาพพื้นที่ภายในบ้านที่มีอยู่ โดยให้คำนึงถึง ความสะดวกและความประหยัด ของพื้นที่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ขณะประกอบอาหารได้มากที่สุด
ที่ตั้ง การกำหนดแหล่งที่ตั้งของครัวนั้นจะต้อง คำนึงถึง ปัญหาเรื่องการใช้งานเป็นหลักใหญ่ เพราะการใช้งาน เช่น การประกอบอาหารนั้น จะต้องเน้น เรื่องของความสะอาด ให้มาก และการรักษา ความสะอากที่ดี ย่อมต้องเกี่ยวข้อง กับตำแหน่งที่ตั้ง คือ ควรให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับชื้น มีทางเดินที่สะดวก ในการเดินเข้าครัว และที่สำคัญตำแหน่งของห้องครัว ไม่ควรอยู่ใกล้กับส่วนที่เป็นมุมพักผ่อน หรือมุมที่ต้องการความสงบ เพราะ อาจมีเสียงและกลิ่น ที่เกิดจากการประกอบอาหาร รบกวนได้ เมื่อสามารถ กำหนดบริเวณที่ตั้งของครัว และการจัดวาง เครื่องครัวได้แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงต่อไป คือ
ความสว่าง แสงสว่างเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับครัว ความสว่างตามธรรมชาติที่ได้จากหน้าต่าง นอกจากจะเป็นที่มาของแสงสว่างแล้ว ยังเป็นช่องระบายอากาศที่ดีอีกด้วย แต่ถ้าภายในครัวมีหน้าต่าง น้อยเกินไป ควรจุดติดไฟช่วย ในส่วนที่แสงไม่เพียงพอ เพราะในการประกอบอาหารนั้น จำเป็นต้องมีแสงสว่างมากพอ ที่จะมองเห็นได้ชัดเจน และทำงานได้สะดวก ดังนั้นจึงควรติดตั้งไฟ โดยใช้ไฟห้อยในพื้นที่ทำงานทุกจุด หรือจะติดไว้ตรงเพดานฝาผนัง เพื่อให้แสงไฟกระจายได้ทั่วห้อง การใช้เวลาในห้องครัวนานๆ นั้น ควรทำให้ครัวมีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ดังนั้นแสงสว่าง ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง จากหลอดไฟ หรือแสงตามธรรมชาติก็ตาม ควรพอเพียง การทาสีห้องโดยใช้สีอ่อนๆ จะช่วยให้ครัวสว่างและดูกว้างขึ้น ควรทาสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิคกึ่ง เงาแทนการใช้สีน้ำพลาสติคสำหรับทาภายในทั่วไป เนื่อง จากจะคงทนกว่า และทำความสะอาดคราบเขม่า คราบควัน ที่เกิดจากการหุงต้มอาหารได้ดีกว่าสีน้ำมันทั่วไป
แบบห้องครัว L
ระบบถ่ายเทอากาศ เมืองไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อน การสร้างบ้าน จึงนิยมทำหน้าต่าง และช่องลมมาก ระบบหารถ่ายเท อากาศ จึงไม่น่าเป็นห่วงเท่าไรนัก ห้องครัวที่โปร่งโล่ง จึงเป็นลักษณะของครัวที่น่าใช้ และทางที่ดีห้องครัว ควรจะติดหน้าต่างไว้หลายๆบาน เพื่อเปิดรับแสง ธรรมชาติ เพราะแดดยามบ่าย สามารถจะช่วย ฆ่าเชื้อโรค ไล่ความเปียกชื้น ความอับทึบให้กับครัวได้ แต่สำหรับครัวของสังคมเมืองหลวง วิธีนี้จะไม่สามารถ ถ่ายเทอากาศได้ และถ้าระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดีพอ ก็จะทำให้เกิดกลิ่น อันไม่น่าภิรมย์ขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้วิธี ติดพัดลม ระบายอากาศเหนือเตา เพื่อดูดควันอาหาร ออกไปข้างนอก ช่วยลดกลิ่นต่างๆ หรือจะติด เครื่องดูดกลิ่น และควันที่ด้านบนของเตาได้
พื้นห้อง การประกอบอาหารในทุกวัน เราต้องยืน เดินไปมา ระหว่างทำอาหารอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางครั้งอาหาร อาจหล่นตกพื้น สร้างความเลอะเทอะ เปรอะเปื้อนพื้นได้ พื้นห้องควรลดระดับต่ำกว่าส่วนอื่นของบ้านประ มาณ 10 ซม. เพื่อเวลาทำความสะอาดพื้นหรือล้างพื้นห้อง น้ำจะได้ไม่ไหลเปรอะเปื้อนห้องอื่น และที่สำคัญอีกอย่างคือ ควรให้พื้นมีความลาดเอียงเล็กน้อยสำหรับการไหลของน้ำลง ท่อระบายน้ำที่เตรียมไว้การที่จะเลือกวัสดุ ประเภทใด มาปูพื้นนั้น ควรยึดหลัก ความทนทาน และทำความสะอาด ได้ง่ายเป็นหลัก เพราะห้องครัว เป็นห้อง ที่มีการ ใช้ความร้อนอยู่เป็นประจำ พื้นห้องจึงจำเป็น ต้องทนทาน ต่อความร้อนได้ดี และจะต้องไม่ลื่นหรือมีผิวมันจนเกินไปนัก พื้นครัวมีให้เลือก ทั้งที่เป็นพื้นกระเบื้อง พื้นหินขัด ซึ่งทนทาน ต่อการใช้งาน รักษาความสะอาดได้ง่าย แต่ค่อนข้างเย็น พื้นไม้ซึ่งให้ ความอบอุ่น สวยงาม แต่จะสกปรกง่าย หรือไวนิล ที่มีลวดลายสวยงาม การดูแลรักษาความสะอาด ทำได้ง่าย แต่ไวนิลนั้น จะชำรุดง่ายเช่นกัน
ห้องครัว Kitchen Room
เพดาน เพดานนับว่าเป็นปราการป้องกันแดดฝน ซึ่งเป็นชั้นรองจากหลังคาจึงไม่ควรละเลย หรือมองข้ามความสำคัญไป การเลือกใช้วัสดุแผ่นเรียบโดยทั่วๆไป อันได้แก่ กระเบื้อง ไม้อัด ยิปซั่มบอร์ด วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่น่าใช้งานมากที่สุด และสิ่งที่สำคัญคือ เมื่อใช้หรือติดตั้งแล้ว ควรทาสีโทนอ่อน เพื่อช่วยให้ห้องดูสว่างขึ้น ผนัง ผนังมีความสำคัญพอๆ กับพื้น คือ ต้องทำความสะอาดได้ง่าย วัสดุที่ใช้ ควรเป็นจำพวกกระเบื้องเคลือบที่มีผิวไม่มันหรือด้านจนเกินไป ผนังที่ก่อด้วยอิฐฉาบปูนธรรมดา ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะก่อให้เกิดความสกปรกได้ง่ายและทำความสะอาดได้ยาก
ห้องครัวแปลนห้องครัว
การวางผังครัว รูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งของห้องครัว รวมถึง อุปกรณ์และ วัสดุตกแต่ง ที่ควรเลือกใช้ภายในห้องครัว ห้องครัวทั่วโดยไป จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนได้แก่ ครัวไทย และ ครัวลักษณะเตรียมอาหาร ( Pantry Kitchen )
kitchen plan uครัว ไทย เป็นครัวที่ ใช้ประกอบอาหาร ที่มีเรื่องกลิ่นเข้ามามี ส่วนสำคัญ เช่น ประกอบอาหาร ประเภท ผัดพริกแกง ปลาทอด คั่วพริกแกง ฯลฯ พื้นที่ตั้งของครัวไทย ครัวไทยจึง ควรเป็นพื้นที่โล่ง ให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก การจัดผังของห้องครัวไทย จึงไม่เน้น ว่าจะต้องเป็น ห้องที่มีความสวยงาม หรือมีกำแพง 4 ด้านและประตูปิดมิดชิด ครัวไทย อาจเป็นเพียงแค่มุม ๆ หนึ่งหลังบ้าน ที่มีเพียงแต่ อุปกรณ์หัวเตาแก๊ส โต๊ะไม้ สำหรับ เตรียมอาหาร และ อ่างซิงค์ สแตนเลส ที่มีขายสำเร็จรูป ก็สามารถประกอบ
อาหารอร่อยๆ ให้สมาชิก ภายในครอบครัวได้อย่างสบายๆแต่สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ ตำแหน่ง ที่ตั้งของห้องครัวไทย ควรจะมีความต่อเนื่องกับ ห้องครัว Pantry เพื่อความสะดวก ในการพักและเสริฟอาหารได้อย่างคล่องตัว
kitchen plan ครัว ลักษณะเตรียมอาหาร ( Pantry Kitchen) เป็นครัวที่ส่วนใหญ่เราไม่ใช้ใน การประกอบอาหารหนัก เกินไปที่อาจมีปัญหา เรื่องกลิ่นตามมา เพราะครัว Pantry ส่วนใหญ่อยู่ภายในบ้าน มีความต่อเนื่องกับ ห้องรับประทานอาหาร รูปแบบของผังครัว Pantry โดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งได้เป็น 5 แบบ ได้แก่
1.ลักษณะการจัดวางแบบเส้นตรง (One Wall Kitchen) : ตู้ครัวอยู่ ชิดผนังเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ หัวเตา อ่าง ล้างจาน และ ตู้เย็น เป็นครัวที่มีการจัดวางเป็นแบบแถวเดียวชิดผนังหมด เหมาะสำหรับครัว ในบ้านหลังเล็ก ๆ เริ่มจากส่วนบริเวณทำความสะอาด มีอ่างน้ำสำหรับล้าง ถัดมาเป็นส่วนเตรียมอาหาร และเตาเมื่ออาหารเสร็จเรียบร้อย ก็นำมาวางบน ที่วางพักอาหารเพื่อรอเสิร์ฟ การจัดแบบนี้ เริ่มจากขวามือไปยังด้านซ้ายของเคาน์เตอร์ในครัว ห้องครัวแบบตัวไอนี้มี ขนาดประมาณ 1.50 x 3.00 เมตร
2.ลักษณะการจัดวางแบบ เส้นขนาน 2 ด้าน : ตู้ครัวมีทั้งหมด 2 ตู้ อยู่ตรงข้ามกับแบบเส้นขนาน การประกอบอาหาร จะสะดวกกว่า แบบเส้นตรง เพราะตำแหน่งของหัวเตา อ่างล้าง จานละตู้เย็นอาจอยู่ตรงข้ามกันตามความเหมาะสม
3.ลักษณะการจัดวางแบบ รูปตัว L (L-Shaped Kitchen) เป็นครัว ที่ใช้การได้ดีเช่นกัน สำหรับการทำงาน ในจุดทั้งสาม (เตา,อ่าง,ตู้เย็น) เหมาะกับห้อง ที่มีเนื้อที่ปานกลาง และเป็นบ้านโล่งๆ ที่ไม่มีการ กั้นแบ่งห้องทุกห้อง (Open Plan) ขนาดห้องครัวประมาณ 2.50 x 3.00 เมตร ลักษณะการจัดวางอุปกรณ์สามารถทำได้ง่ายกว่า แบบแถวยาวตามทางเดิน เนื่องจากมีพื้นที่มากขึ้น และระยะเคลื่อนที่ขณะ ใช้งานน้อยลง ที่สำคัญคือ ควรจัดให้ ส่วนเตรียมอาหาร และเตาอยู่ติดผนังด้าน ที่สามารถระบายกลิ่นควันออกภายนอกบ้านได้ง่ายL-Shaped Kitchen
4.ลักษณะการจัดวางแบบ รูปตัว U : (U-Shaped Kitchen) เหมาะสำหรับบ้าน ที่มีพื้นที่เหลือเฟือ ทั้งบ้านและครัวนี้ จึงมีความยืดหยุ่นมากที่สุด เพราะยังสามารถ ขยายพื้นที่ ของเคาน์เตอร์และชั้นเก็บของต่างๆได้แบบนี้มีขนาดประมาณ 3.00 x 3.00 เมตร ลักษณะห้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากห้องมีขนาดใหญ่มากอาจเพิ่ม โต๊ะกลางสำหรับ พักอาหาร หรืออุปกรณ์อื่นได้อีก เพดานห้องครัว ไม่ควรจะต่ำเกินไป เพราะจะทำให้การระบายอากาศ ไม่สะดวกเท่าที่ควร และอาจทำให้อึดอัดได้ สำหรับห้องครัวในบ้านธรรมดาทั่วไป ควรมีเพดานสูงจากพื้น 2.60 – 2.75 เมตร
U-Shaped Kitchen5.ลักษณะการจัดวางแบบเกาะกลาง : การจัดวางแบบนี้ ก็กำลังเป็นที่นิยมแพร่หลาย ที่เน้นการโชว์อุปกรณ์ครัว
ต่างๆ ไว้ตรงเกาะกลาง แทนที่จะอยู่บนตู้ชิดผนัง
ไม่ว่ารูปแบบลักษณะการจัดวางจะเป็นแบบใด องค์ประกอบหลักของเครื่องใช้ในครัว Pantry 3 อย่าง (Appliances) ที่ขาดไม่ได้คือ หัวเตาแก๊สไฟฟ้า อ่างล้าง จานตู้เย็น ทั้งนี้ตำแหน่งที่ตั้งของเครื่อง ใช้ทั้ง 3 ส่วนนี้ จะ ต้องอยู่ในระยะ ที่เหมาะสม กับการใช้งานไม่ อยู่ในระยะ ที่ใกล้หรือไกลเกินเอื้อม รูปแบบของตู้ครัว Pantry ประกอบด้วยตู้ Cabinet ตัวล่างที่ใช้สำหรับ ประกอบอาหาร และ เป็นที่เก็บของ ส่วน ตู้ลอยซึ่งเป็น ตู้แขวนติดผนัง ใช้สำหรับเก็บของ ที่ไม่มีน้ำหนักมากเกินไป วัสดุที่ ใช้ในการทำตู้โดยทั่วไปสามารถแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ ตู้ที่มีโครงสร้างเป็นไม้สังเคราะห์ ซึ่งไม่มีโครง สร้าง ภายในได้แก่ ไม้ MDF และParticle Board ตู้ครัว ประเภท นี้เราจะเห็นได้ทั่วไปตาม ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ สำเร็จรูปทั่วไป ข้อดีของตู้ครัว ประเภทนี้คือเป็นครัว ประเภท ถอดประกอบ ( Knock Down ) สะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการติดตั้ง แต่จุดด้อยของตู้ครัวแบบนี้คือไม่ สามารถ ทนความชื้น ซึ่งเกิดจากน้ำได้ เพราะไม้ Particle Board และ ไม้ MDF จะเกิดการพองตัว ซึ่งไม่สามารถ ทำ การซ่อมได้ วัสดุประเภทสอง ที่ใช้ในการทำตู้ครัว ได้แก่ ตู้ครัว ที่มีโครงสร้าง เป็นไม้จริง และปิดผิวด้วยไม้ อัดหรือไม้จริง และจะมี ความคง ทนกว่า แบบ แรก เนื่อง จากมีโครงสร้างเป็นไม้จริง และไม่มีข้อกำหนดในการ สร้าง เป็น ครัวที่จัดทำขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ใช้ชุดครัวสำเร็จรูป ตามแบบ ประเภทแรก วัสดุที่ใช้ ในการทำเคาน์เตอร์ top ที่ใช้ในครัว Pantry มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ top ที่ใช้หินแกรนิต หรือหินอ่อน top ที่ปูด้วยกระ เบื้องเซรามิก และ top ที่ใช้วัสดุสังเคราะห์ ขึ้นรูปประเภท Post Form ที่ปิดผิวด้วย Laminate และมีโครงสร้าง ภายในเป็นไม้ MDF
การจัดวางแผนผังห้องครัว
แผนผังห้องครัวข้อ สำคัญในการจัดวางแผนผัง ห้องครัว นั้น ก่อนอื่น จะต้องเลือกอุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่จำเป็นเสียก่อน เช่น เตา อ่างล้างมือ ตู้เย็น กระทะ จานชาม ฯลฯ เมื่อเลือกอุปกรณ์ ได้ตามความประสงค์แล้ว จากนั้น ให้วัดขนาดของห้อง แล้ววางผังห้องแบบย่อส่วน ต่อจากนั้นให้วัดขนาด ของอุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่เลือกไว้ โดยอาจคำนึงถึง หลักต่อไปนี้คือ
1. การวางเตา อ่างล้าง และตู้เย็น ควรวางให้อยู่ใกล้กัน เพื่อความคล่องตัว ขณะปรุงอาหารยิ่งขึ้น
2. เคาน์เตอร์หรือโต๊ะวางเตา ควรเลือกให้มีความสูง ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 900 ม.ม. หรือ 3 ฟุต แต่ถ้าจะวาง อ่างล้างควรเพิ่มให้สูงกว่านั้นอีก 75 ม.ม. หรือ 3 นิ้วควรให้มีที่ว่างข้างเตา เพื่อเตรียมไว้สำหรับวาง เครื่องประกอบอาหาร และจานชามได้
3. การวางตู้เก็บของหรือภาชนะต่างๆ ควรกำหนดให้อยู่ใกล้ อุปกรณ์ที่ใช้ ร่วมกัน เช่น ตู้เก็บกระทะ หม้อ หรือ ชั้นวางเครื่องปรุงต่างๆ ควรอยู่ใกล้เตา ตู้เก็บจานควรอยู่ใกล้อ่างล้าง เพื่อสะดวกในการเก็บเข้าที่ หรือหยิบใช้ได้สะดวก
4. การวางปลั๊กไฟฟ้า ควรมีที่เสียบปลั๊กสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้อย่างน้อย 2 แห่ง
แผนผังห้องครัว1ครัว เป็นที่สำหรับ ประกอบอาหาร ดังนั้นการเลือกสรรอุปกรณ์ในครัว จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่ควรมองข้าม และจะขาดเสียไม่ได้ โต๊ะประกอบ อาหาร เป็นส่วนสำคัญ และใช้งานมากที่สุด ในการประกอบอาหาร จึงควรให้พื้นที่บริเวณนี้กว้างพอ สำหรับการจัดเตรียมอาหาร และวางอุปกรณ์ ส่วนด้านบนของโต๊ะ อาจปูด้วยกระเบื้องเซรามิค สแตนเลส หินอ่อน ไม้หรือแผ่นเหล็กขนาดบางๆ ก็ได้ ที่เก็บของ อาจเป็นตู้เก็บหรือขวด สำหรับใส่ของแห้ง เพื่อป้องกันความชื้นในอากาศ สำหรับครัวที่แคบๆ อาจจะทำเป็นตู้ติดบานพับ เป็นการเพิ่มเนื้อที่ ใช้งานได้อีกด้วย
ขอบคุณที่มา : http://novabizz . com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...